9 พ.ย. 2563

เนื้อวัวปลอมระบาด หวั่นกระทบผู้บริโภคอาหารฮาลาล ทั้งในและต่างประเทศและความเชื่อมั่นในมาตรฐานฮาลาล

    จากการที่สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาคมการค้าธุรกิจไทยมุสลิม ได้มาพบหารือ กับ นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตร มาตรฐานฮาลาล เกี่ยวกับปัญหาการระบาดของเนื้อวัวเทียม ที่ใช้เนื้อหมูหมักเลือดวัวในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด  โดยปัญหานี้เริ่มส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคและพี่น้องมุสลิมในวงกว้างมากขึ้น เพราะนอกจากมีการขายตามเขียงและรถเร่ ยังมีการขายออนไลน์กระจายไปทั่ว ทำให้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในมาตรฐานฮาลาล โดยเฉพาะผู้ประกอบการกว่า 1.5 แสนราย ที่ได้มาตรฐานฮาลาล ซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่งออกอาหารของประเทศไทยโดยเฉพาะกลุ่มประเทศมุสลิมกว่า 2,000 ล้านคน รวมทั้งชาวมุสลิม ที่เดินทางมาท่องเที่ยวหรือมาใช้บริการทางการแพทย์ในประเทศไทย เพราะกลัวอาหารที่ปลอมปนเนื้อสุกร
 
โดยศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ รายงานว่า มีการส่งตัวอย่างมาให้วิเคราะห์ 42 ตัวอย่าง ทั้งที่เป็นเนื้อสด และปรุงเป็นอาหารปนเนื้อวัวปลอมขายในโรงเรียน ผลปรากฏว่า เป็นเนื้อวัวปลอมที่ทำจากเนื้อหมูหมักเลือดวัว 70% ส่วนตัวอย่างที่ขายผ่านออนไลน์เป็นเนื้อวัวปลอม 100% และมีเชื้อโรคเป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค
 
ทั้งนี้ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว. เกษตรฯ มีนโยบายส่งเสริมเกษตรปลอดภัย อาหารปลอดภัย และนโยบายยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร รวมทั้งอาหารฮาลาลเพื่อคุ้มครองผู้ผลิต จนถึงผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนส่งเสริมการส่งออกอาหารที่ปลอดภัย  ในปัจจุบันตลาดอาหารฮาลาล มีมูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท เป็นตลาดเป้าหมายใหม่ที่เติบโตเร็ว จึงมีการตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรมาตรฐานฮาลาล เป็นการเฉพาะ ดังนั้นจึงต้องจัดการปัญหาเนื้อวัวปลอมจากเนื้อสุกรอย่างเป็นระบบและเร่งด่วนและยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นว่า รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและหน่วยงานพันธมิตร มีความพร้อมในการแก้ไขปัญหาทั้งวันนี้ และวันหน้า ทั้งนี้ ที่ประชุมสรุปแนวทางแก้ไขปัญหาโดยเริ่มเดินหน้า 5 มาตรการเร่งด่วน
1. มาตรการสื่อสารเตือนภัยผู้บริโภค
2. มาตรการป้องปรามผู้ค้า
3. มาตรการปราบปรามผู้กระทำผิด
4. มาตรการส่งเสริมมาตรฐานฮาลาล
5. มาตรการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) จากโรงฆ่าสัตว์ถึงผู้บริโภคสร้างความเชื่อมั่น
 
ที่มา : http://certify.dld.go.th/certify/index.php/th/2016-04-30-03-59-03/2016-05-01-02-55-53/1254-2
 
บริษัท รับตรวจสินค้าโพ้นทะเล จำกัด (OMIC) ให้บริการการตรวจวิเคราะห์ชนิดเนื้อสัตว์ (Meat Authenticity) อีกทั้งได้ขึ้นทะเบียนเป็นห้องปฏิบัติการที่รับการถ่ายโอนภารกิจด้านการวิเคราะห์สินค้าปศุสัตว์ จากกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ท่านสามารถตรวจสอบขอบข่ายวิธีทดสอบที่ได้รับการขึ้นทะเบียนได้ที่ http://omicbangkok.com/en/accreditation-certification-and-registration
 

Meat Authenticity 
Food, Feed and Raw material
Test Item
bovine (Beef) Goat Porcine (Pork) Fish
Chicken Mammalian Sheep  


ท่านสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :

บริษัท รับตรวจสินค้าโพ้นทะเล จำกัด (โอมิค) [Overseas Merchandise Inspection Co., Ltd (OMIC)]
[แผนกห้องปฏิบัติการ (Laboratory Department)]:
เลขที่ 12 – 14 ซอยเย็นอากาศ 3 ถนนเย็นอากาศ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กทม 10120
No. 12-14 Yen Akas Soi 3, Chongnonsri, Yannawa, Bangkok 10120 THAILAND

http://omicbangkok.com http://www.omicfoodsafety.com

:

02-286-4120

:

02-287-5106

:

098-827-2134, 092-424-5458
081-927-6321

:

labmk.th@omicnet.com labmk2.th@omicnet.com
labmk3.th@omicnet.com

 

 

Designed by Photoroyalty / Freepik
X
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้และวิเคราะห์ประสิทธิภาพและปริมาณการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา เรายังแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ไซต์ของเรากับโซเชียลมีเดีย การโฆษณา และพันธมิตรด้านการวิเคราะห์ของเรา